หน้าเว็บ

ประเพณีบุญข้าวจี่


ประเพณีบุญข้าวจี่ (จังหวัดมหาสารคาม)
             บุญข้าวจี่ เป็นงานบุญประเพณีของชาวอีสาน ที่กระทำกันในเดือนสาม จนเรียกว่า บุญเดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นบุญประเพณีสำคัญที่มีกำหนดอยู่ในฮีตสิบสอง ดังรู้จักกันทั่วไปว่า เดือนสามคล้อยจั่วหัวปั้นข้าวจี่ เดือนสี่คล้อยจัวน้อยเทศน์มะที (มัทรี)

            บุญข้าวจี่นิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม  คือ  ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชา  (เดือนสาม ขึ้น ๑๔ ค่ำ) แล้ว ส่วนใหญ่จะกำหนดวันแรม ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นกิจกรรมร่วมของชุมชนหลายหมู่บ้าน นั่นคือ ชาวอีสานบางหมู่บ้านเรียกงานบุญนี้ว่า บุญคุ้ม จะทำกันเป็นคุ้ม ๆ หรือ บางหมู่บ้านก็จะทำกันที่วัดประจำหมู่บ้าน ล้วนแล้วแต่เป็น บุญข้าวจี่ หรือบุญเดือนสามนั่นเอง ชาวบ้านที่เป็นเจ้าภาพก็จะบอกบุญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมกันทำบุญ

                ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่ว เอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า

                ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหัวแจก) นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า

"เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา"

                เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง

"เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ"

ประวัติความเป็นมาประเพณีบุญข้าวจี่
                มูลเหตุที่ทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม เนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาได้มีการทำนาเสร็จสิ้น  ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งใหม่จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายแก่พระสงฆ์  สำหรับมูลเหตุดั้งเดิมที่มีการทำบุญข้าวจี่ มีเรื่องเล่ากันตามความเชื่อว่า  ในสมัยพุทธกาล นางปุณณะทาสี  ได้ทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์เถระ  ครั้นถวายแล้วนางคิดว่าพระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน เพราะ อาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน

                เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบภาวะจิตของนางปุณณะทาสี  จึงรับสั่งให้พระอานน์ปูลาดอาสนะแล้วทรงประทับนั่งฉันท์  ณ  ที่นางถวายนั้น เป็นผลให้นางเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งและเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็บรรลุโสดาบันปัตติผลด้วยอานิงสงฆ์ที่ถวายขนมแป้งจี่  ชาวอีสานจึงเชื่อในอานิสงส์ของการทานดังกล่าวจึงพากันทำข้าวจี่ถวายทานแด่พระสงฆ์สืบต่อมา

ประเพณีบุญผะเหวด (พระเวส)


ประเพณีบุญผะเหวด (จังหวัดร้อยเอ็ด)
             ความสำคัญ: บุญผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไป ของชาวอีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน 3 พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการ เปรียญสำหรับบุญมหาชาติและในงานนี้ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวและบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า                                                                
              พิธีกรรมชาวอีสาน จะจัดทำบุญผะเหวด ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงกลางเดือน 5 จังหวัดร้อยเอ็ด จะจัดประเพณีบุญผะเหวดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี โดยจะมีวันรวมตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต และมารรอบๆ ศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ 1 ถึงกัณฑ์    สุดท้ายการจัดงานบุญผะเหวด...หรืองานเทศน์มหาชาตินิยมที่อัญเชิญพระอุปคุตมาปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง..และให้โชคลาภแก่พุทธศาสนิกชน..ในการทำบุญมหาชาติจึงมีการแห่พระอุปคุต ซึ่งสมมุติว่า อัญเชิญมาจาก สะดือทะเล                                                                            .........          
             สาระ: บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศล ให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ  คือ ความดีที่ยิ่งยวดอันมีการสละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลคือประโยชน์สุขอันไพศาลของมวลชนมนุษย์ชาติเป็นสำคัญ 

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง


ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง (จังหวัดสกลนคร)
          ความสำคัญ:  งานแห่ปราสาทผึ้งในเทศกาลออกพรรษาของชาวอีสาน แม้ว่าจะมีอยู่ทั่วไปในหลายจังหวัดแต่ก็ไม่จัดใหญ่โตและปฏิบัติต่อเนื่องเช่นของเมืองสกลนครการพัฒนารูปแบบปราสาท ทรงโบราณ เป็นทรงตะลุ่มทรงหอผึ้งแบบโบราณยังไม่พัฒนาเป็นรูปทรงปราสาทผึ้ง ดังกล่าวย่อมเกิดแง่คิดในหลายประเด็น โดยเฉพาะในด้านรูปแบบและเนื้อหา ว่ามีการอนุรักษ์ประยุกต์ดัดแปลงหรือสร้างใหม่อย่างไร                                                                           
         พิธีกรรม:  พิธีกรรมในประเพณีปราสาทผึ้งของชาวจังหวัดสกลนคร กล่าวได้ว่า ขึ้นอยู่กับ ความเชื่อของการทำปราสาทผึ้งแต่ละชนิด แต่ละยุคสมัย กล่าวคือ ในยุคที่มีการทำหอผึ้งทรงตะลุ่มด้วยโครงไม้ไผ่ กาบกล้วย ก้านกล้วยประดับดอกผึ้งนั้น เมื่อนำไปเพื่อถวายพระสงฆ์ ตลอดจนการทำปราสาทผึ้งทรงหอผี และปราสาทผึ้งทรงจัตุรมุข เมื่อนำไปถวายพระสงฆ์ จะกล่าวคำถวายเป็นภาษาบาลีดังนี้อิมานิ มะยังภัณเต มธุบุปยะ ปะสาทัง
          สาระ: ประเพณีปราสาทผึ้ง มีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่ที่ความรู้สึก จิตใจที่ได้ปฏิบัติงานตามจารีตประเพณีเกิดความมั่นคงทางจิตใจเป็นสำคัญ ส่วนเนื้อหาสาระในด้านต้องการให้เกิดบุญกุศลก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกับในการทำปราสาทผึ้งถวายวัด ถือว่าได้บุญสูงสุดเพราะผึ้งเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาดังปรากฏในพุทธประวัติตอนปาลิไลยลิงนำรวงผึ้งมาถวายสมเด็จพระสัมมา   สัมพุทธะเจ้าตอนเทโวโรหนะ ที่พระพุทธเจ้าแสดงปฏิหาริย์เปิดโลกให้แลเห็นซึ่งกันและกันทั้ง 3 โลก ทำให้มนุษย์เห็นความทุกข์สุขของเทวดามนุษย์และใต้บาดาลตลอดจนตอนอทิสทานซึ่งท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ มเหสี กษัตริย์แข่งขันกันสร้างปราสาทหรือแม้แต่พระมาลัยก็กล่าวดังปราสาทในสวรรค์ชั้นฟ้า                                                              .........          
           

การฟ้อนกลองตุ้ม


การฟ้อนกลองตุ้ม (จังหวัดศรีสะเกษ)
         ความสำคัญ: การฟ้อนกลองตุ้มจะไม่มีการไหว้ครู พอเริ่มก็จะฟ้อนเลย ส่วนการถ่ายทอดนั้นนักฟ้อนรุ่นก่อนจะเป็นผู้ถ่ายทอดให้รุ่นต่อ ๆ ไป ท่าฟ้อนมี 3 ท่า คือ                                                                               
            ท่าที่1 เริ่มด้วยท่ายกมือทั้งสองข้างโดยกางข้อศอกให้ตั้งฉากและขนานกัน แบมือให้หลังมือหันเข้าหาผู้ฟ้อน แล้วแกว่งแขนขึ้นลงข้างลำตัวสลับไปมา ซ้าย-ขวา เป็นการเชื้อเชิญให้พี่น้องทั้งหลายมาร่วมงานสนุกสนานรื่นเริงในประเพณีบุญบั้งไฟ                                                                                                      
              ท่าที่2 ยกมือทั้งสองแบออก แล้วไขว้กันอยู่ระดับหน้าผาก งอศอกเป็นการแสดงถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของชา;บ้าน                                                                                                                               
              ท่าที่3 ยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้าให้ฝ่ามือขนานกัน มีความหมายให้ไปสู่จุดมุ่ง หมายเดียวกันในอันที่จะปฏิบัติสืบทอดประเพณีที่ถูกต้องและดีงามการฟ้อนจะฟ้อนถอยหลังเครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบและให้จังหวะในการฟ้อนได้แก่ กลองตุ้ม เป็นกลอง 2 หน้าตัวกลองทำด้วยไม้ประดู่ หน้ากลองทำด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ไม้ตีกลองทำด้วยแก่นไม้แท้ไม่มีการหุ้มหัวไม้ตี  และพางฮาด มีลักษณะคล้ายฆ้อง แต่ไม่มีตุ้มใช้ตีแทรกกับเสียงกลอง.ในการฟ้อนจะเอากลองและพางฮาดหามใช้ราวเดียวกันคนหาม 2 คน หันหน้าเข้าหากันคนหนึ่งตีกลอง อีกคนตีพางฮาดคนหามกลองและพางฮาดจะเป็นผู้นำขบวนฟ้อนและตีกลองในจังหวะเดียวกันคือ ตุ้ม-แปะ-ตุ้ม เมื่อจะเปลี่ยนท่าฟ้อนคนตีพางฮาดจะเป็นคนให้สัญญาณ ท่ารำไม่อ่อนช้อยแต่ดูสวยงามด้วยการแต่งกายที่ละลานตาการแต่งกาย สวมเสื้อสีอะไรก็ได้ เพื่อความสวยงามมักจะสวมสีขาวนุ่งโสร่งไหมสี สวยงามมีผ้าสไบ ทอลายขิตสวยงาม และผ้าโพกหัวลายขิต ใส่กระจอนหู (ตุ้มหูโบราณ) คล้องคอด้วยตุ้ม หรือตุ้มเข็มแขน 3 เส้น เส้นหนึ่งเป็นสร้อยคอ อีก 2 เส้นสะพายแล่งไขว้กันเหมือนสายสังวาล ตรงชายตุ้มเปใช้เงินทำเป็นรูปดาวห้อยไว้ทับผ้าสไบ และมีแว่น (กระจกเงา) เล็ก ๆอีก 1 บาน แขวนคอไว้ด้วยสร้อยสำหรับใช้ส่องเวลาแต่งหน้าและเพื่อให้เกิดแสงวูบวาบสะท้อนให้เทวดาฟ้าดินได้มองเห็นความทุกข์ยากของมวลมนุษย์ใส่กำไลข้อมือข้อเท้าทั้ง 2 ข้าง มีผ้าขิดคาดเอวทับอีกผืนเวลาฟ้อนจะใส่ซวยมือ (เล็บมือ) 5 นิ้ว มีลักษณะยาวเรียวใช้ไม้ไผ่สานต่อให้ดูนิ้วยาวปลายไม้ใช้ผ้าฝ้ายมัดไว้เป็นสีขาวเวลาฟ้อนดูสวยงามมาก            
      สาระ:..สะท้อนให้เห็นความสามัคคี..และความพร้อมเพรียงกันของชาวบ้านที่มาฟ้อนรำกลองตุ้มประกอบประเพณีบุญบั้งไฟ ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดต่อกันมา การที่เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านได้แสดงออกด้วยความสนุกสนาน นับว่าเป็นกุศโลบายในการสืบทอดประเพณีอันดี

ประเพณีบุญบั้งไฟ


ประเพณีบุญบั้งไฟ (จังหวัดยโสธร)
ความสำคัญ: ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟเป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูกาลทำนาเป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  
พิธีกรรมประกอบด้วย:..1.การเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทองและอาหารการกินเพื่อนำ มาเป็นทุนในการจัดทำบั้งไฟและเป็นเสบียงสำหรับผู้จัดทำบั้งไฟ 
                                       2. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้) 
                                       3. การประกวดขบวนรำเซิ้งบั้งไฟโก้    
                                       4. การประกวดธิดา
                                       5. การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง 
                                       6. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง)  
                                       7. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟ ในวันแข่งขันบั้งไฟขึ้นสูง  
สาระ:.1. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอนเกษตรกรไม่ควรประมาท
           2. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนานความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
           3. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ 
           4. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร
                                                                                                                                                                         ………………………                                      .                                                                                                 ...........................   ...................      ......................        ..........                                                      

                     

การแข่งเรือพิมาย


การแข่งเรือพิมาย (จังหวัดนครราชสีมา)
ความสำคัญ: การแข่งเรือเป็นรูปแบบของการเล่นในฤดูน้ำหลากที่สร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้านและคนต่างหมู่บ้านได้พบปะกันเป็นการสร้างความสมานสามัคคีของสังคมได้ทางหนึ่ง

พิธีกรรมที่ปฏิบัติ:.แต่เดิมแข่งที่ท่าน้ำบ้านวังหิ นต่อมาย้ายมาแข่งที่ลำตลาดซึ่งอยู่.อำเภอ พิมาย.โดยจัดต่อเนื่องกันทุกปีจนถึงปัจจุบัน แต่เดิมเมื่อแต่ละหมู่บ้านทราบกำหนดการแข่งเรือล่วงหน้าก็จะฝึกซ้อมฝีพาย ซึ่งเป็นชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านจนชำนาญ เมื่อใกล้ถึงวันแข่งเรือจะนำขึ้นมาขัดท้องเรือด้วยใบตองแห้ง เสร็จแล้วทาสีและลวดลายที่เรือและใบพายแล้วทำพิธีไหว้เซ่นแม่ย่านางเรือเสร็จแล้วลากเรือลงน้ำฝีพายลงเรือโห่เอาฤกษ์เอาชัยเรือแข่งของแต่ละหมู่บ้านจะมาพร้อมกันที่บริเวณสถานที่แข่งขัน..เมื่อพระฉันจังหันแล้วเมื่อได้เวลา...เจ้าหน้าที่จะให้เรือแต่ละลำพายแสดงตัวตาม ลำดับ ซึ่งจะเรียกชื่อตามที่มาถึงก่อนหลังตามชื่อเรื่อง  เช่น มุนีจอมขวัญ เสมียนเสนาะเพราะสนั่นหมื่นสะท้านแผ่นดินไหว เป็นต้น เมื่อครบจำนวนแล้วจับสลากคู่แข่งกันในแต่ละประเภทโดยกำหนดที่ฝีพายเป็นเรือขนาดใหญ่ กลาง เล็ก แข่งขันจนกว่าจะได้เรือที่ชนะเลิศของแต่ละรุ่นซึ่งขณะแข่งขันผู้ชมการแข่งขันสองฟากฝั่งจะโห่ร้อง...เมื่อเรือหมู่บ้านของตนได้รับชัยชนะเป็นที่สนุกสนานปัจจุบันการแข่งขันเรือพิมายได้พัฒนาการแข่งเรือแบบพื้นบ้านมาเป็นการแข่งเรือแห่งประเทศไทย และถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลเที่ยวพิมายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
       
สาระ: 1.ได้สืบทอดภูมิปัญญาและการช่างฝีมือ ในการสร้างเรือ การดูแลรักษา   
           2. เป็นกระบวนการสร้างพลังสามัคคีการเกาะเกี่ยวทางสังคมอย่างแน่นแฟ้น  
          3. ได้รักษาและสืบทอดประเพณีท้องถิ่นที่ดีงามให้คงไว้กับชุมชน                                                                                                    
         

ประเพณีไหลเรือไฟ


ประเพณีไหลเรือไฟ (จังหวัดนครพนม)
               ความสำคัญ: เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย,  เพื่อบูชาท้าวผกาพรหม,  เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก, เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ                                                                                                   
               พิธีกรรม:นำเรือไปลอยในแม่น้ำ ก่อนลอยให้กล่าวคำบูชา ดังนี้
               .อะหังอิมินา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชิง อภิปูเชนิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหังที่ฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตคะตุ” แปลว่า ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระมุนีเจ้าอันประดิษฐานอยู่.....หาดทรายแห่งแม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ                 
               สาระ: เปรียบเทียบให้เห็นชีวิตมนุษย์ มีเกิด มีเจริญก้าวหน้า และดับไปในที่สุดหรือ ชีวิตมนุษย์เป็น อนิจจัง