การฟ้อนกลองตุ้ม (จังหวัดศรีสะเกษ)
ความสำคัญ: การฟ้อนกลองตุ้มจะไม่มีการไหว้ครู
พอเริ่มก็จะฟ้อนเลย ส่วนการถ่ายทอดนั้นนักฟ้อนรุ่นก่อนจะเป็นผู้ถ่ายทอดให้รุ่นต่อ
ๆ ไป ท่าฟ้อนมี 3 ท่า คือ
ท่าที่1 เริ่มด้วยท่ายกมือทั้งสองข้างโดยกางข้อศอกให้ตั้งฉากและขนานกัน แบมือให้หลังมือหันเข้าหาผู้ฟ้อน แล้วแกว่งแขนขึ้นลงข้างลำตัวสลับไปมา ซ้าย-ขวา เป็นการเชื้อเชิญให้พี่น้องทั้งหลายมาร่วมงานสนุกสนานรื่นเริงในประเพณีบุญบั้งไฟ
ท่าที่2 ยกมือทั้งสองแบออก แล้วไขว้กันอยู่ระดับหน้าผาก งอศอกเป็นการแสดงถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของชา;บ้าน
ท่าที่3 ยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้าให้ฝ่ามือขนานกัน มีความหมายให้ไปสู่จุดมุ่ง หมายเดียวกันในอันที่จะปฏิบัติสืบทอดประเพณีที่ถูกต้องและดีงามการฟ้อนจะฟ้อนถอยหลังเครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบและให้จังหวะในการฟ้อนได้แก่ กลองตุ้ม เป็นกลอง 2 หน้าตัวกลองทำด้วยไม้ประดู่ หน้ากลองทำด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ไม้ตีกลองทำด้วยแก่นไม้แท้ไม่มีการหุ้มหัวไม้ตี และพางฮาด มีลักษณะคล้ายฆ้อง แต่ไม่มีตุ้มใช้ตีแทรกกับเสียงกลอง.ในการฟ้อนจะเอากลองและพางฮาดหามใช้ราวเดียวกันคนหาม 2 คน หันหน้าเข้าหากันคนหนึ่งตีกลอง อีกคนตีพางฮาดคนหามกลองและพางฮาดจะเป็นผู้นำขบวนฟ้อนและตีกลองในจังหวะเดียวกันคือ ตุ้ม-แปะ-ตุ้ม เมื่อจะเปลี่ยนท่าฟ้อนคนตีพางฮาดจะเป็นคนให้สัญญาณ ท่ารำไม่อ่อนช้อยแต่ดูสวยงามด้วยการแต่งกายที่ละลานตาการแต่งกาย สวมเสื้อสีอะไรก็ได้ เพื่อความสวยงามมักจะสวมสีขาวนุ่งโสร่งไหมสี สวยงามมีผ้าสไบ ทอลายขิตสวยงาม และผ้าโพกหัวลายขิต ใส่กระจอนหู (ตุ้มหูโบราณ) คล้องคอด้วยตุ้ม หรือตุ้มเข็มแขน 3 เส้น เส้นหนึ่งเป็นสร้อยคอ อีก 2 เส้นสะพายแล่งไขว้กันเหมือนสายสังวาล ตรงชายตุ้มเปใช้เงินทำเป็นรูปดาวห้อยไว้ทับผ้าสไบ และมีแว่น (กระจกเงา) เล็ก ๆอีก 1 บาน แขวนคอไว้ด้วยสร้อยสำหรับใช้ส่องเวลาแต่งหน้าและเพื่อให้เกิดแสงวูบวาบสะท้อนให้เทวดาฟ้าดินได้มองเห็นความทุกข์ยากของมวลมนุษย์ใส่กำไลข้อมือข้อเท้าทั้ง 2 ข้าง มีผ้าขิดคาดเอวทับอีกผืนเวลาฟ้อนจะใส่ซวยมือ (เล็บมือ) 5 นิ้ว มีลักษณะยาวเรียวใช้ไม้ไผ่สานต่อให้ดูนิ้วยาวปลายไม้ใช้ผ้าฝ้ายมัดไว้เป็นสีขาวเวลาฟ้อนดูสวยงามมาก
สาระ:..สะท้อนให้เห็นความสามัคคี..และความพร้อมเพรียงกันของชาวบ้านที่มาฟ้อนรำกลองตุ้มประกอบประเพณีบุญบั้งไฟ ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดต่อกันมา การที่เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านได้แสดงออกด้วยความสนุกสนาน นับว่าเป็นกุศโลบายในการสืบทอดประเพณีอันดี
ท่าที่1 เริ่มด้วยท่ายกมือทั้งสองข้างโดยกางข้อศอกให้ตั้งฉากและขนานกัน แบมือให้หลังมือหันเข้าหาผู้ฟ้อน แล้วแกว่งแขนขึ้นลงข้างลำตัวสลับไปมา ซ้าย-ขวา เป็นการเชื้อเชิญให้พี่น้องทั้งหลายมาร่วมงานสนุกสนานรื่นเริงในประเพณีบุญบั้งไฟ
ท่าที่2 ยกมือทั้งสองแบออก แล้วไขว้กันอยู่ระดับหน้าผาก งอศอกเป็นการแสดงถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของชา;บ้าน
ท่าที่3 ยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้าให้ฝ่ามือขนานกัน มีความหมายให้ไปสู่จุดมุ่ง หมายเดียวกันในอันที่จะปฏิบัติสืบทอดประเพณีที่ถูกต้องและดีงามการฟ้อนจะฟ้อนถอยหลังเครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบและให้จังหวะในการฟ้อนได้แก่ กลองตุ้ม เป็นกลอง 2 หน้าตัวกลองทำด้วยไม้ประดู่ หน้ากลองทำด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ไม้ตีกลองทำด้วยแก่นไม้แท้ไม่มีการหุ้มหัวไม้ตี และพางฮาด มีลักษณะคล้ายฆ้อง แต่ไม่มีตุ้มใช้ตีแทรกกับเสียงกลอง.ในการฟ้อนจะเอากลองและพางฮาดหามใช้ราวเดียวกันคนหาม 2 คน หันหน้าเข้าหากันคนหนึ่งตีกลอง อีกคนตีพางฮาดคนหามกลองและพางฮาดจะเป็นผู้นำขบวนฟ้อนและตีกลองในจังหวะเดียวกันคือ ตุ้ม-แปะ-ตุ้ม เมื่อจะเปลี่ยนท่าฟ้อนคนตีพางฮาดจะเป็นคนให้สัญญาณ ท่ารำไม่อ่อนช้อยแต่ดูสวยงามด้วยการแต่งกายที่ละลานตาการแต่งกาย สวมเสื้อสีอะไรก็ได้ เพื่อความสวยงามมักจะสวมสีขาวนุ่งโสร่งไหมสี สวยงามมีผ้าสไบ ทอลายขิตสวยงาม และผ้าโพกหัวลายขิต ใส่กระจอนหู (ตุ้มหูโบราณ) คล้องคอด้วยตุ้ม หรือตุ้มเข็มแขน 3 เส้น เส้นหนึ่งเป็นสร้อยคอ อีก 2 เส้นสะพายแล่งไขว้กันเหมือนสายสังวาล ตรงชายตุ้มเปใช้เงินทำเป็นรูปดาวห้อยไว้ทับผ้าสไบ และมีแว่น (กระจกเงา) เล็ก ๆอีก 1 บาน แขวนคอไว้ด้วยสร้อยสำหรับใช้ส่องเวลาแต่งหน้าและเพื่อให้เกิดแสงวูบวาบสะท้อนให้เทวดาฟ้าดินได้มองเห็นความทุกข์ยากของมวลมนุษย์ใส่กำไลข้อมือข้อเท้าทั้ง 2 ข้าง มีผ้าขิดคาดเอวทับอีกผืนเวลาฟ้อนจะใส่ซวยมือ (เล็บมือ) 5 นิ้ว มีลักษณะยาวเรียวใช้ไม้ไผ่สานต่อให้ดูนิ้วยาวปลายไม้ใช้ผ้าฝ้ายมัดไว้เป็นสีขาวเวลาฟ้อนดูสวยงามมาก
สาระ:..สะท้อนให้เห็นความสามัคคี..และความพร้อมเพรียงกันของชาวบ้านที่มาฟ้อนรำกลองตุ้มประกอบประเพณีบุญบั้งไฟ ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดต่อกันมา การที่เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านได้แสดงออกด้วยความสนุกสนาน นับว่าเป็นกุศโลบายในการสืบทอดประเพณีอันดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น